10 ตุลาคม 2552

ปัญหาการจัดการกองทุนตำบล

โดย คณะทำงานระดับเขต

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และชัยภูมิ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ทั้งเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เข้าร่วมเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ในปี พ.ศ.2550 จำนวน 99 แห่ง และเพิ่มเป็น 265 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 30.99 ขององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลทั้งหมด 855 แห่ง รับผิดชอบประชากรในพื้นที่ ร้อยละ 39.87 ในปี พ.ศ. 2551 มียอดงบประมาณจากค่าบริการสาธารณสุขกองทุนหลักประกันสุขภาพกว่า 86 ล้านบาท โดยคาดว่าในปี พ.ศ. 2552 จะมีองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล เข้าร่วมเป็นกองทุน เต็มพื้นที่ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามในการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า มีปัญหาในการปฏิบัติงานทั้งในส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมโครงการ สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ทำให้เกิดการนำเงินในกองทุนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของกองทุน
2. องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ที่เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ขาดเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อช่วยลดภาระในการทำงานด้านบัญชี กองทุน การดำเนินโครงการ/กิจกรรม และการจัดการข้อมูลพื้นฐาน ทำให้ไม่สามารถส่งรายงานความก้าวหน้าของกองทุนได้ตามที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนด
3. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (นครราชสีมา) ขาดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามประเมิน และแปลผลการดำเนินงานของกองทุน ทั้งด้านการเงินบัญชี ด้านโครงการ/กิจกรรม และด้านข้อมูลพื้นฐาน

ทำอย่างไร จึงจะมีวิธีการปัญหาเหล่านี้ได้ รบกวนพี่น้องช่วยระดมความคิดเห็นด้วยนะครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. คนสธ.15:25

    1.สำหรับปัญหาในข้อที่ 1 ตอนนี้เรามีการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนอยู่แล้ว น่าจะมีการประเมินดูว่า ที่ผ่านมาปัญหาเหล่านี้มีมากน้อยขนาดไหน แล้วเจาะประเด็นลงไปในพื้นที่ คือชี้ออกมาเลยว่าที่ไหนเป็นปัญหา เพื่อการพัฒนาครับ

    ตอบลบ