10 ตุลาคม 2552

ร่างแนวทางการพัฒนาเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9นครราชสีมา ร่วมกับผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล จะนำเอาความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาเครื่องมือใช้ในการบริหารจัดการงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ทดแทนระบบงานเดิม โดยระบบดังกล่าวนั้นจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.1 วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ให้มีประสิทธิภาพ ลดภาระงานของผู้รับผิดชอบในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ที่เข้าร่วมเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่

1.2 ขอบเขตของระบบงาน

ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ มีขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1. ขอบเขตการพัฒนาระบบ
เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ เฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล ที่เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ภายในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และจังหวัดชัยภูมิ โดยครอบคลุมสารสนเทศ 3 ด้าน คือ ด้านข้อมูลพื้นฐานของกองทุน ด้านข้อมูลบัญชีการเงินของกองทุน และด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการภายในกองทุน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามรูปแบบที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
2. มุมมองของผู้ใช้ระบบ
ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ สามารถเข้าใช้งานในระบบได้ดังนี้
2.1 จัดการข้อมูลพื้นฐานกองทุน ผู้ใช้งานระบบสามารถบันทึกข้อมูลพื้นฐานของกองทุนซึ่งได้แก่ข้อมูลชื่อกองทุน ที่อยู่ ขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล คณะกรรมการกองทุน รายชื่อหมู่บ้านและหน่วยบริการที่รับผิดชอบ จำนวนประชากรที่รับผิดชอบ ชื่อบัญชีธนาคารกองทุน
2.2 จัดการข้อมูลบัญชีกองทุน ผู้ใช้งานระบบสามารถบันทึกข้อมูลการรับ-จ่าย เงินประจำวัน เพื่อจัดทำบัญชีกองทุน
2.3 จัดการข้อมูลโครงการ/กิจกรรม ผู้ใช้งานระบบสามารถทำการบันทึกข้อมูลโครงการ/กิจกรรม ตามประเภท ที่กำหนดตามแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2.4 จัดทำและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ที่ดำเนินการภายในกองทุนได้แก่ความก้าวหน้าของการใช้งบประมาณ และผลงานที่ได้ดำเนินไปแล้ว
2.5 ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ครบทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลบัญชีการเงิน และข้อมูลด้านกิจกรรม

3. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ
3.1 เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล ที่เข้าร่วมกองทุน ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
1) บันทึก แก้ไข และลบข้อมูลพื้นฐานกองทุน ตามแบบที่กำหนด
2) บันทึก แก้ไข และลบข้อมูลด้านการเงินและบัญชีประจำวันของกองทุน
3) บันทึก แก้ไข และลบข้อมูลด้านโครงการ/กิจกรรม ที่ผ่านการอนุมัติตามแผนโดยคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่
4) แสดงรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม
5) แสดงรายงานข้อมูลพื้นฐาน คณะกรรมการกองทุน
6) แสดงรายงานข้อมูลพื้นฐาน รายชื่อหมู่บ้านและหน่วยบริการที่รับผิดชอบ
7) แสดงรายงานสมุดเงินรับ และสมุดเงินสดจ่าย ประจำวัน
8) แสดงรายงานสมุดเงินสดรับ รายเดือน รายไตรมาส และรายปี
9) แสดงรายงานสมุดเงินสดจ่าย รายเดือน รายไตรมาส และรายปี
10) แสดงรายงานสมุดเงินสดรับ และสมุดเงินสดจ่าย ตามประเภทของงบประมาณ
11) แสดงรายงานสรุปโครงการ/กิจกรรม ในกองทุนทั้งหมด และแยกรายประเภทของกิจกรรมได้
12) แสดงรายงานการใช้งบประมาณในการจัดโครงการ/กิจกรรม แยกรายประเภทของกิจกรรมได้
3.2 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานภาคีสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9นครราชสีมา
1) แสดงรายงานข้อมูลพื้นฐาน คณะกรรมการกองทุน ทุกกองทุนภายในจังหวัด และภายในสาขาเขตพื้นที่
2) แสดงรายงานข้อมูลพื้นฐาน รายชื่อหมู่บ้านและหน่วยบริการที่รับผิดชอบ ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
3) แสดงรายงานสมุดเงินสดรับ และสมุดเงินสดจ่าย ประจำวัน ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
4) แสดงรายงานสมุดเงินสดรับ รายเดือน รายไตรมาส และรายปี ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
5) แสดงรายงานสมุดเงินสดจ่าย รายเดือน รายไตรมาส และรายปี ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
6) แสดงรายงานสมุดเงินสดรับ และสมุดเงินสดจ่าย ตามประเภทของงบประมาณ ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
7) แสดงรายงานสรุปโครงการ/กิจกรรม ในกองทุนทั้งหมด และแยกรายประเภทของกิจกรรมได้ ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
8) แสดงรายงานการใช้งบประมาณในการจัดโครงการ/กิจกรรม แยกรายประเภทของกิจกรรมได้ ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
9) แสดงรายงานสรุปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมกองทุน เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
10) แสดงรายงานสรุปจำนวนกิจกรรมแยกตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
11) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
12) แสดงรายงานการสมทบเงินงบประมาณของกองทุน เปรียบเทียบตามประเภทของการสมทบ รายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
13) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณคงเหลือภายในกองทุน เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
3.3 คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ได้แก่บุคคลในพื้นที่ ที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหาร
1) แสดงรายงานสรุปจำนวนกิจกรรมแยกตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
2) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
3) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณคงเหลือภายในกองทุน เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ

3.4 ผู้บริหาร ได้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา นายกองค์การบริการส่วนตำบล นายกเทศมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุน
1) แสดงรายงานสรุปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมกองทุน เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
2) แสดงรายงานสรุปจำนวนกิจกรรมแยกตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
3) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
4) แสดงรายงานการสมทบเงินงบประมาณของกองทุน เปรียบเทียบตามประเภทของการสมทบ รายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
5) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณคงเหลือภายในกองทุน เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ

3.5 ผู้ดูแลระบบ ได้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา มอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบโปรแกรม
1) จัดการข้อมูลผู้เข้าใช้ระบบงาน
2) จัดการกำหนดสิทธิผู้เข้าใช้งานระบบ
3) จัดการข้อมูลค่าคงที่ของระบบสารสนเทศ

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. มีระบบในการติดตามและประเมินผลการดำเนินของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา
2. มีสารสนเทศ ด้านการตัดสินใจ ให้กับผู้บริหารในระดับกองทุน ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการดำเนินงานด้านกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
3. ช่วยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา สามารถควบคุมและติดตามการใช้เงินภายในกองทุนมีความถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
4. สารสนเทศที่ได้จากการพัฒนาระบบมีความทันสมัย และสามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว และนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพิ่มประโยชน์และลดค่าใช้จ่ายด้วยการจัดการสารสนเทศที่เหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น