11 ตุลาคม 2552

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ รูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมและป้องกันโรคโดยชุมชน

โดย วีระชัย ก้อนมณี


สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบมบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 13(3) มาตรา 18(8) มาตรา 47 และมาตรา 48(4)ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชนองค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน และเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 ณ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ระหว่าง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันติบาตรเทศบาลแห่งประเทศไทยและสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ซึ่งทั้งเจ็ดฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ การดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ มีสวัสดิการชุมชนรองรับและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่


วัตถุประสงค์
1.เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่นรวมทั้งสถานบริการทางเลือก โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต2.เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพอย่างน้อยตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด3.เพื่อให้เกิดการพัฒนาสุขภาพของคนในท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในท้องถิ่นหรือพื้นที่


หลักเกณฑ์การเข้าร่วม
1.องค์การบริการส่วนตำบลหรือเทศบาลที่มีความพร้อม และมีความประสงค์เข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล2.เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลที่มีประสบการณ์และการดำเนินงานด้านการสร้างสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่มาก่อนแล้ว3.เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลที่มีความพร้อมในการอุดหนุนเงินงบประมาณ เพื่อสมทบกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามอัตราส่วนที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด


แหล่งที่มาของกองทุน






การสมทบเงิน
1.เงินสมทบขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่หรือเทศบาลต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ2.เงินสมทบขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ3.เงินสมทบขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


คณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพ
คณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย 1.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือนายกเทศมนตรี เป็นประธานกรรมการ2.สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือสภาเทศบาลที่สภามอบหมายจำนวน 2 คน เป็นกรรมการ3.ผู้แทนหน่วยบริการที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพมอบหมาย จำนวน 1 คน เป็นกรรมการ4.ผู้แทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่คัดเลือกกันเอง จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ5.ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนคัดเลือกกันเอง หมู่บ้านหรือชุมชนละ 1 คน เป็นกรรมการ6.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหรือปลัดเทศบาล เป็นกรรมการและเลขานุการ

10 ตุลาคม 2552

ร่างแนวทางการพัฒนาเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9นครราชสีมา ร่วมกับผู้แทนขององค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล จะนำเอาความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาเครื่องมือใช้ในการบริหารจัดการงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ทดแทนระบบงานเดิม โดยระบบดังกล่าวนั้นจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.1 วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ให้มีประสิทธิภาพ ลดภาระงานของผู้รับผิดชอบในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ที่เข้าร่วมเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่

1.2 ขอบเขตของระบบงาน

ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ มีขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1. ขอบเขตการพัฒนาระบบ
เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ เฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล ที่เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ภายในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และจังหวัดชัยภูมิ โดยครอบคลุมสารสนเทศ 3 ด้าน คือ ด้านข้อมูลพื้นฐานของกองทุน ด้านข้อมูลบัญชีการเงินของกองทุน และด้านโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการภายในกองทุน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามรูปแบบที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
2. มุมมองของผู้ใช้ระบบ
ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ สามารถเข้าใช้งานในระบบได้ดังนี้
2.1 จัดการข้อมูลพื้นฐานกองทุน ผู้ใช้งานระบบสามารถบันทึกข้อมูลพื้นฐานของกองทุนซึ่งได้แก่ข้อมูลชื่อกองทุน ที่อยู่ ขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล คณะกรรมการกองทุน รายชื่อหมู่บ้านและหน่วยบริการที่รับผิดชอบ จำนวนประชากรที่รับผิดชอบ ชื่อบัญชีธนาคารกองทุน
2.2 จัดการข้อมูลบัญชีกองทุน ผู้ใช้งานระบบสามารถบันทึกข้อมูลการรับ-จ่าย เงินประจำวัน เพื่อจัดทำบัญชีกองทุน
2.3 จัดการข้อมูลโครงการ/กิจกรรม ผู้ใช้งานระบบสามารถทำการบันทึกข้อมูลโครงการ/กิจกรรม ตามประเภท ที่กำหนดตามแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2.4 จัดทำและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ที่ดำเนินการภายในกองทุนได้แก่ความก้าวหน้าของการใช้งบประมาณ และผลงานที่ได้ดำเนินไปแล้ว
2.5 ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ครบทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลบัญชีการเงิน และข้อมูลด้านกิจกรรม

3. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ
3.1 เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล ที่เข้าร่วมกองทุน ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
1) บันทึก แก้ไข และลบข้อมูลพื้นฐานกองทุน ตามแบบที่กำหนด
2) บันทึก แก้ไข และลบข้อมูลด้านการเงินและบัญชีประจำวันของกองทุน
3) บันทึก แก้ไข และลบข้อมูลด้านโครงการ/กิจกรรม ที่ผ่านการอนุมัติตามแผนโดยคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่
4) แสดงรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม
5) แสดงรายงานข้อมูลพื้นฐาน คณะกรรมการกองทุน
6) แสดงรายงานข้อมูลพื้นฐาน รายชื่อหมู่บ้านและหน่วยบริการที่รับผิดชอบ
7) แสดงรายงานสมุดเงินรับ และสมุดเงินสดจ่าย ประจำวัน
8) แสดงรายงานสมุดเงินสดรับ รายเดือน รายไตรมาส และรายปี
9) แสดงรายงานสมุดเงินสดจ่าย รายเดือน รายไตรมาส และรายปี
10) แสดงรายงานสมุดเงินสดรับ และสมุดเงินสดจ่าย ตามประเภทของงบประมาณ
11) แสดงรายงานสรุปโครงการ/กิจกรรม ในกองทุนทั้งหมด และแยกรายประเภทของกิจกรรมได้
12) แสดงรายงานการใช้งบประมาณในการจัดโครงการ/กิจกรรม แยกรายประเภทของกิจกรรมได้
3.2 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานภาคีสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9นครราชสีมา
1) แสดงรายงานข้อมูลพื้นฐาน คณะกรรมการกองทุน ทุกกองทุนภายในจังหวัด และภายในสาขาเขตพื้นที่
2) แสดงรายงานข้อมูลพื้นฐาน รายชื่อหมู่บ้านและหน่วยบริการที่รับผิดชอบ ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
3) แสดงรายงานสมุดเงินสดรับ และสมุดเงินสดจ่าย ประจำวัน ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
4) แสดงรายงานสมุดเงินสดรับ รายเดือน รายไตรมาส และรายปี ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
5) แสดงรายงานสมุดเงินสดจ่าย รายเดือน รายไตรมาส และรายปี ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
6) แสดงรายงานสมุดเงินสดรับ และสมุดเงินสดจ่าย ตามประเภทของงบประมาณ ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
7) แสดงรายงานสรุปโครงการ/กิจกรรม ในกองทุนทั้งหมด และแยกรายประเภทของกิจกรรมได้ ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
8) แสดงรายงานการใช้งบประมาณในการจัดโครงการ/กิจกรรม แยกรายประเภทของกิจกรรมได้ ทุกกองทุนภายในจังหวัด และสาขาเขตพื้นที่
9) แสดงรายงานสรุปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมกองทุน เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
10) แสดงรายงานสรุปจำนวนกิจกรรมแยกตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
11) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
12) แสดงรายงานการสมทบเงินงบประมาณของกองทุน เปรียบเทียบตามประเภทของการสมทบ รายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
13) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณคงเหลือภายในกองทุน เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
3.3 คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ได้แก่บุคคลในพื้นที่ ที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหาร
1) แสดงรายงานสรุปจำนวนกิจกรรมแยกตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
2) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
3) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณคงเหลือภายในกองทุน เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ

3.4 ผู้บริหาร ได้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา นายกองค์การบริการส่วนตำบล นายกเทศมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุน
1) แสดงรายงานสรุปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมกองทุน เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
2) แสดงรายงานสรุปจำนวนกิจกรรมแยกตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
3) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการตามประเภท เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
4) แสดงรายงานการสมทบเงินงบประมาณของกองทุน เปรียบเทียบตามประเภทของการสมทบ รายจังหวัด ตามปีงบประมาณ
5) แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินงบประมาณคงเหลือภายในกองทุน เปรียบเทียบรายจังหวัด ตามปีงบประมาณ

3.5 ผู้ดูแลระบบ ได้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา มอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบโปรแกรม
1) จัดการข้อมูลผู้เข้าใช้ระบบงาน
2) จัดการกำหนดสิทธิผู้เข้าใช้งานระบบ
3) จัดการข้อมูลค่าคงที่ของระบบสารสนเทศ

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. มีระบบในการติดตามและประเมินผลการดำเนินของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา
2. มีสารสนเทศ ด้านการตัดสินใจ ให้กับผู้บริหารในระดับกองทุน ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการดำเนินงานด้านกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
3. ช่วยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา สามารถควบคุมและติดตามการใช้เงินภายในกองทุนมีความถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
4. สารสนเทศที่ได้จากการพัฒนาระบบมีความทันสมัย และสามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว และนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพิ่มประโยชน์และลดค่าใช้จ่ายด้วยการจัดการสารสนเทศที่เหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่

ปัญหาการจัดการกองทุนตำบล

โดย คณะทำงานระดับเขต

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และชัยภูมิ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ทั้งเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เข้าร่วมเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ในปี พ.ศ.2550 จำนวน 99 แห่ง และเพิ่มเป็น 265 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 30.99 ขององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลทั้งหมด 855 แห่ง รับผิดชอบประชากรในพื้นที่ ร้อยละ 39.87 ในปี พ.ศ. 2551 มียอดงบประมาณจากค่าบริการสาธารณสุขกองทุนหลักประกันสุขภาพกว่า 86 ล้านบาท โดยคาดว่าในปี พ.ศ. 2552 จะมีองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล เข้าร่วมเป็นกองทุน เต็มพื้นที่ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามในการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า มีปัญหาในการปฏิบัติงานทั้งในส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมโครงการ สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ทำให้เกิดการนำเงินในกองทุนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของกองทุน
2. องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ที่เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ขาดเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อช่วยลดภาระในการทำงานด้านบัญชี กองทุน การดำเนินโครงการ/กิจกรรม และการจัดการข้อมูลพื้นฐาน ทำให้ไม่สามารถส่งรายงานความก้าวหน้าของกองทุนได้ตามที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนด
3. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (นครราชสีมา) ขาดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามประเมิน และแปลผลการดำเนินงานของกองทุน ทั้งด้านการเงินบัญชี ด้านโครงการ/กิจกรรม และด้านข้อมูลพื้นฐาน

ทำอย่างไร จึงจะมีวิธีการปัญหาเหล่านี้ได้ รบกวนพี่น้องช่วยระดมความคิดเห็นด้วยนะครับ

ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโพนทอง

โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโพนทอง จังหวัดชัยภูมิ
ความเป็นมา
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลระดับท้องถิ่นตำบลโพนทอง เริ่มต้นหลังจากที่สำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิได้คัดเลือกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลโพนทองเป็นพื้นที่นำร่องการดำเนินงานในรูปแบบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น/พื้นที่ เมื่อ ปีงบประมาณ 2549 บนพื้นฐานความเข้าใจตรงกันที่ว่าระบบการดูแลสุขภาพของประชาชนไม่ใช่งานของหน่วยงานสาธารณสุขหรือสถานีอนามัยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการร่วมกัน
เป้าหมาย
เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคนในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
โดยมีหลักการทำงานที่สำคัญ 4ประการ คือ
1. หลักการมีส่วนร่วม เพื่อให้ทุกแผนงานโครงการเป็นไปตามความต้องการของประชาชนและเป็นการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในชุมชนได้ตรงจุด
2. หลักความเสมอภาค หมายถึง ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
3. หลักความถูกต้อง หมายถึง ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการกำหนด
4. หลักคุณธรรม ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติยึดเหนี่ยวทางจิตใจของพุทธศาสนาในการลดปัญหาคอรัปชั่นและสร้างความโปร่งใสในการทำงานของกองทุน
ข้อมูลทั่วไป
ตำบลโพนทองอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองชัยภูมิ ประมาณ 5 กิโลเมตร
- หลังคาเรือนจำนวน 3,001 หลังคาเรือน
- ประชากรรวมจำนวน 8,853 คน
คณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน
ซึ่งได้รับคำสั่งแต่งตั้งจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่ (นครราชสีมา ) ประกอบด้วย 19 คน งบประมาณของกองทุน
1. จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดสรรจำนวน 37.50 บาท ต่อ หัวประชากร
เป็นเงิน 331537.50 บาท
2. จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมทบ ร้อยละ 10 เป็นเงิน 40100 บาท
รวมเงินบริหารจัดการทั้งสิ้น จำนวน 371,637.50 บาท ( สามแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันหกร้อยสามสิบเจ็ดบาทห้าสิบสตางค์ )
การจัดสรรงบประมาณ
แบ่งออกเป็น 4 หมวด ดังนี้
1. หมวดส่งเสริมสนับสนุนหน่วยบริการ ร้อยละ 20 เป็นเงิน 74,332.56 บาท
2. หมวดจัดซื้อบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ ร้อยละ 50 เป็นเงิน 185,831.40 บาท
3. หมวดสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ร้อยละ 20 เป็นเงิน 74,332.56 บาท
4. หมวดการบริหารจัดการกองทุน ร้อยละ 10 เป็นเงิน 37,166.28 บาท
แผนงานโครงการที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2550 จำนวน โครงการ ดังนี้
1.หมวดส่งเสริมสนับสนุนหน่วยบนริการ ได้แก่
โครงการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์สถานีอนามัย
2.หมวดจัดซื้อบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ แยกตามกลุ่มอายุ ดังนี้
กลุ่มแม่และเด็ก ได้แก่
โครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ได้แก่
โครงการส่งเสริมสุขภาพปาก และเด็ก
โครงการช่วยเหลือครอบครัวเด็กที่ยากไร้ขาดแคลน
กลุ่มวัยทำงาน ได้แก่
โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปีขึ้นไป
โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านมเชิงรุก
กลุ่มวัยผู้สูงอายุ ได้แก่
โครงการส่งเสริมสุขภาพสายตาผู้สูงอายุ
3. หมวดสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ได้แก่
- โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สนับสนุนกิจกรรม อสม. 5 เสือ ในการสำรวจลูกน้ำยุงลายประจำเดือน
- โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและฉีดยาคุมกำเนิดสุนัขและแมวร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์
- โครงการนำร่องซ้อมแผนไข้หวัดนกระดับจังหวัดและอำเภอ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์การระบาดโรคไข้หวัดใหญ่
- โครงการนำร่องพัฒนาภาคีเครือข่ายเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับตำบล/หมู่บ้าน โดยใช้เครื่องมือ การจัดการความรู้ มาใช้ในกระบวนการทำงานภายใต้ชื่อโครงการ เข้าค่ายเยาวชนพันธุ์ใหม่
- โครงการช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์เบื้องต้นที่เปิดเผยตัวเอง
- โครงการแพทย์ทหารรักประชาชน
- โครงการนำร่องพัฒนาภาคีเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชน
- โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้น้ำมันมะพร้าว
4. หมวดการบริหารจัดการกองทุน ใช้ในกิจกรรมดังนี้
- จ่ายค่าวัสดุใช้สอยในการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการและการจัดทำเอกสารงานวิชาการของกองทุน
- จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการ
- จ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและกิจการกองทุนของคณะกรรมการ
- จ่ายค่าอาหารว่าง/อาหารกลางวันแก่คณะกรรมการเข้าร่วมประชุมประจำเดือน
- จ่ายค่าจ้างพนักงานจัดทำการเงินการบัญชี
- ค่าใช้สอยอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
ผลงานเด่น
จากผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารกองทุนได้มีมติคัดเลือก
ผลงานเด่น จำนวน 1 โครงการได้แก่
โครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
แรงบันดาลใจ คือ
1. เพื่อส่งเสริมสนันสนุนให้หญิงหลังคลอดได้มีขวัญกำลังใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง
2. สถานีอนามัยทำงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็กได้ครอบคลุมง่ายขึ้น
3. เพื่อกระตุ้นให้หญิงหลังคลอดเห็นความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
กลุ่มเป้าหมาย
- หญิงหลังคลอที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
กิจกรรม
- ประชาสัมพันธ์หญิงหลังคลอดในพื้นที่สมัครข้าร่วมโครงการ
- เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย รับลงทะเบียนยื่นเอกสาร ตรวจสุขภาพแม่และลูก ให้ความรู้เรื่อง การปฏิบัติตัวหลังคลอดของแม่และประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การประเมินพัฒนาการเด็ก และการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์อายุให้ครอบคลุม
- ติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม.และ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย
- จ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรแก่แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด จำนวน 4 เดือนๆละ 400 บาท รวมเป็นเงิน 1.200 บาท ต่อ คน
ผลงาน
หญิงหลังคลอดสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 คน
การประเมินผลโครงการ
- เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยติดตามงานแม่และเด็กได้ครอบคลุมมากขึ้น
- หญิงหลังคลอดมีความพึงพอใจและสมัครเข้าร่วมโครงการเกือบทุกราย
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา พอสรุปได้ ดังนี้
1. คณะกรรมการบางส่วนยังขาดการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานโครงการ
2. คณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการของกองทุน
3. การประชาสัมพันธ์เชิงรุกในชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านรับรู้ข่าวสารและเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานยังทำได้ไม่ชัดเจน
4. การโอนเงินงบประมาณสมทบจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีความล่าช้าทำให้ความ
ทันเวลาในการดำเนินงานช้าตามไปด้วย
ข้อเสนอแนะ
- การคัดเลือกคณะกรรมการโดยเฉพาะที่มาจากภาคส่วนตัวแทนไม่ว่าจะเป็นจากภาคส่วนตัวแทน สมาชิก อบต. จากส่วนตัวแทน อสม. และจากภาคส่วนตัวแทนประชาชนแต่ละหมู่บ้าน จะต้องได้มาโดย การจัดทำประชาคมสุขภาพร่วมกับหน่วยงานและภาคส่วนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จึงจะสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานไปได้ด้วยดี
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดประชุมวิชาการแก่คณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนก่อนลงมือทำงานเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน
- การติดตามประเมินผลการดำเนินงานกองทุนในระดับจังหวัดควรนำตัวชี้วัดแต่ละงานมาใช้ในปีต่อไป